วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 16 (07/10/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคน วันนี้เป็นวันที่อาจารย์นัดสอบปลายภาคนอกตารางรู้สึกตื่นเต้นมากกับการทำข้อสอบแต่ก่อนสอบอาจารย์ให้ส่งแบบประเมินที่อาจารย์ต้องปรัปรุงแต่มีนักศึกษาบ้างคนไม่ได้ทำอาจารย์จึงจดชื่อไว้ หลังจากสอบเสร็จอาจารย์ก็กำหนดการตรวจBloggerเพื่อให้นักศึกษาทำให้เรียบร้อย

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 15 (30/09/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคน วันนี้อาจารย์ให้นำกระดาษลังมาตอนแรกก็ไม่เข้าใจว่าอาจารย์ให้เอามาทำไม พออาจารย์บอกดิฉันจึงเข้าใจว่าอาจารย์ให้นำมาทำป้ายนิเทศติดหน้าห้องและป้ายนิเทศต้องสะท้อนให้เห็นว่าเรียนเกี่ยวกับหน่วยอะไรเป็นงานเดี่ยวและอาจารย์ก็นัดวันสอบว่าเป็นวันพฤหัสบดีหน้า วันนี้ดิฉันจึงทำหน่วยร่างกายของเรา และอาจารย์ก็ให้กรอกใบประเมินผู้สอน อาจารย์มีข้อข้องใจเป็นบ้างข้อที่ต้องให้อาจารย์ปรับปรุงอาจารย์จึงให้นักศึกษาเขียนข้อปรับปรุงมาส่งอาทิตย์หน้าก่อนสอบ
ผลงานป้ายนิเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 14 (23/09/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคน วันนี้อาจารย์ให้นำแป้งโดว์มานำเสนอเป็นกลุ่มว่ามีอุปกรณ์ที่เหลือใช้อะไรบ้างที่สามารถเล่นกับแป้งโดว์ได้และวันนี้อาจารย์ก็เปิดBloggerของนักศึกษาดูและหลังจากที่อาจารย์ดูอาจารย์ก็ให้นักศึกษาไปปรับปรุงแล้วให้ไปดูที่แนวการสอนว่าในBloggerควรมีเนื้อหาอย่างไรแล้วแก้ไขให้เรียบร้อย
ผลงานการทำแป้งโดว์กลุ่มดิฉัน

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 13 (16/09/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคน วันนี้อาจารย์ใหทำแป้งโดว์โดยอาจารย์นำอุปกรณ์มาให้ แต่ให้นักศึกษานำแป้งสาลี สารส้ม กะทะ มาเป็นกลุ่มนอกจากนั้นอาจารย์ก็เตรียมให้
อุปกรณ์
1. แป้งสาลี 3 ถ้วยตวง
2. น้ำสะอาด 2.5 ถ้วยตวง
3.เกลือป่นแบบละเอียดยิบ 1 ถ้วยตวง
4. น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
5. สารส้มแบบละเอียด
6.สีผสมอาหาร
วิธีทำ
นำกระทะใบค่อนข้างใหญ่วางบนเตา ยังไม่ต้องเปิดไฟ เตรียมไม้พายหรือทัพพียาวๆ แข็งแรงที่ใช้กวนได้สะดวก ผสมแป้ง เกลือกับสารส้มให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำเปล่ากับน้ำมันพืชลงไป กวนให้เข้ากัน จะกลายเป็นแป้งข้นๆ พอแป้งได้ที่แล้วก็นำสีผสมอาหารมานวดกับแป้งโดว์ก็จะได้แป้งโดว์ที่มีหลายสีสัน


วิธีเก็บรักษา
สำหรับวิธีเก็บรักษาก็ใส่ภาชนะที่มีฝาปิดแน่น ถ้าทิ้งไว้หลายๆ วัน แป้งจะเริ่มแห้งมองเห็นผงเกลือเป็นจุดๆ ไม่ต้องตกใจ แค่นวดๆให้เข้ากันก็ใช้ได้ อ้อถ้าแป้งมันเริ่มแห้งก็หยอดน้ำใส่ลงไปแล้วนวดให้เข้าก็ใช้ได้ แป้งโดว์สามารถเก็บได้นานหลายอาทิตย์
ความรู้สึก
วันนี้ทำแป้งโดว์สนุกมากเพื่อนๆช่วยกันทำอย่างตั้งใจเพราะไม่เคยทำมาก่อนและสามารถนำความรู้ที่ได้กลับไปทำให้น้องๆเล่นกันได้อีกด้วยและอาจารย์ก็ให้หาอุปกรณ์ที่เหลือใช้ที่สามารถเล่นกับแป้งโดว์ได้นำมาเสนอในอาทิตย์หน้า

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 12 (09/09/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคนวันนี้อาจารย์นัดสอบเก็บคะแนนอาจารย์จึงให้มาสอบตอน 09:00 น.วันนี้ดิฉันคิดว่าให้ส่งงานเกมการศึกษาดิฉันจึงทำมาส่ง แต่เพื่อนๆบอกว่าอาจารย์ให้ส่งวันอื่นได้ แต่ดิฉันทำมาแล้วจึงส่งวันนี้
ผลงานเกมการศึกษา เกมจับคู่ภาพและเงา



วัตถุประสงค์ของเกมจับคู่ภาพและเงา

1.เพื่อฝึกให้เด็กได้รู้จักการสังเกต

2.เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมพันธ์ของตาและมือ

3.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และเห็นรูปภาพในหน่วยที่สอน

4.เพื่อฝึกให้เด็กเกิดคุณธรรมและจริยธรรมในการเล่นเกม



วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 11 (02/09/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคนวันนี้อาจารย์ได้ให้กลุ่ม 2 มาเรียนรวมกับกลุ่ม 1 ในตอนเช้าแล้ววันนี้ก็เป็นวันที่อาจารย์ได้กำหนดส่งงาน ดิฉันเห็นเพื่อนทำเกมการศึกษามาด้วยแต่อาจารย์ยังไม่ได้สั่งให้กลุ่ม 2 ทำวันนี้อาจารย์จึงสั่งให้กลุ่ม 2 ทำเกมการศึกษามาส่งด้วย และงานที่อาจารย์ให้ส่งวันนี้มีดังนี้
1.งานกลุ่มของวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2553 (ส่งเป็นงานเดี่ยว)
2.งานที่ถ่ายเอกสารแล้วทำเป็นภาพเคลื่อนไหว
3.งานที่อาจารย์สอนตัดกระดาษ 3 ชิ้น
ผลงานของดิฉัน
-งานกลุ่มวันที่ 7 สิงหาคม 2553
หมายเหตุ เนื่องจากกล้องมีปัญหาขัดข้องจึงไม่มีรูปภาพผลงาน
-งานที่ถ่ายเอกสารแล้วทำเป็นภาพเคลื่อนไหว


-งานที่อาจารย์สอนตัดกระดาษ 3 ชิ้น


แล้ววันนี้อาจารย์ก็นำเกมการศึกษามาให้ดูหลายรูปแบบมาให้ศึกษาเพื่อนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนแล้วอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่มกันเล่นจนครบทุกเกม

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 10 (26/08/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคนวันนี้อาจารย์ไม่ได้สอนเนื่องจากอาจารย์ติดงาน อาจารย์จึงสั่งให้ทำการบ้านให้เสร็จ อาจารย์จึงต้องเลื่อนการส่งงานไปในอาทิตย์หน้า

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 9 (19/08/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคนวันนี้อาจารย์ให้นำงานที่สั่งเป็นการบ้านในวันเสาร์ที่7 สิงหาคม 2553 มาส่งแต่นักศึกษาในห้องยังไม่เสร็จ อาจารย์จึงตัดกระดาษให้ดู 3 ชิ้น แล้วสั่งให้นักศึกษาไปทำเป็นการบ้านโดยทำเป็นรูปภาพอะไรก็ได้ตามจินตนาการของตนเองมา 3 ชิ้น อาจารย์จึงให้ส่งทั้งงานเก่าและงานใหม่ในอาทิตย์หน้าพร้อมกัน

บันทึกครั้งที่ 8 (05/08/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคน วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบนักศึกษาทุกคนจึงไม่มีการเรียนแต่ให้มาวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2553
วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2553
-วันนี้อาจารย์ได้สัมมานาเรื่องการจัดทำสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีอาจาร์ที่ชำนาญเรื่องการทำสื่อมาสอน 2 คน อาจารย์บอกว่าการทำสื่อเราต้องรู้ถึงวัตถุประสงค์เเละหน่วยการเรียนรู้ของสื่อที่เราจะนำเสนอต้องเหมาะสมกับเด็กเเต่ละวัย
ตัวอย่างของสื่อ เช่น สื่อภาพเคลื่อนไหว สื่อเกมลากเส้นหาทางออก สื่อเกมจับคู่ สื่อนิทาน เป็นต้น
-วันนี้อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ7-8คนแล้วทำงานที่อาจารย์มอบให้กลุ่มของดิฉันได้การพับกระดาษแล้วตัดเป็นรูปต่างๆ ดังภาพ
แล้วอาจารย์ก็ให้การบ้านโดยการถ่ายเอกสารแล้วให้ไปทำภาพเคลื่อนไหวตามที่สัมมานาในวันนี้

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 7 (29/07/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนที่น่ารักทุกคน วันนี้ดิฉันได้เรียนเกี่ยวกับเกมการศึกษาได้รู้ถึงความหมายของเกมการศึกษา จุดมุ่งหมายของเกมการศึกษา คุณค่าของเกมการศึกษา และประเภทของเกมการศึกษา ดังนี้
เกมการศึกษา หมายถึง เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เป็นพื้นฐานการศึกษาเพื่อฝึกความพร้อมในวิชาต่างๆในชั้นประถมศึกษา
เกมการศึกษานี้มุ่งให้เด็กใช้สติปัญญาและการสังเกต คิดหาเหตุผลและฝึกแก้ไขปัญหาโดยใช้เวลาสั้นสุด
จุดมุ่งหมายของการจัดเกมการศึกษา
1.เพื่อฝึกการจำแนกด้วยสายตา
2.เพื่อฝึกใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล
3.เพื่อฝึกการแยกประเภท
4.รู้ค่าของตัวเลข
5.เพื่อฝึกประสาทสัมผัส
6.เพื่อฝึกให้มีคุณธรรมต่างๆ
7.เป็นการทบทวนเนื้อหาวิชาที่เรียนไปแล้ว
คุณค่าของการเล่นเกมการศึกษา
1.ฝึกฝนและพัฒนาความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส
2.พัฒนาการคิดและการหาเหตุผล
3.ฝึกการสังเกตุและเปรียบเทียบ
4.ฝึกการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
5.ช่วยให้เกิดความคิดรวบยอด
ประเภทของเกมการศึกษา
1.เกมจับคู่
2.ภาพตัดต่อ
3.ต่อภาพเหมือน
4.เกมเรียบลำดับ
5.เกมจับหมวดหมู่
6.เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพสัญลักษณ์
7.เกมหาภาพที่มีความสัมพันธ์กันตามลำดับที่กำหนด
-จากสัปดาห์ที่แล้วอาจารย์ให้ออกแบบเกมการศึกษามาแล้วดิฉันก็ออกแบบมาดังภาพข้างล่างนี้ ส่วนวิธีการเล่นที่ดิฉันทำก็คือเอาช่องที่1มารวมกับช่องที่2และมารวมกับช่องที่3แล้วจะออกมาเป็นคำตอบ เช่น พระจันทร์ + สีเหลือง + เลข1 ก็จะเท่ากับ พะรจันทร์สีเหลืองจำนวน 1 ดวง เป็นต้น แต่เกมที่ดิฉันคิดมาไม่ได้อยู่ในประเภทของเกมอาจารย์จึงมีข้อแนะนำดังนี้

ข้อแนะนำจากอาจารย์
-อาจารย์ได้บอกกับดิฉันว่าเกมชนิดนี้น่าจะเปลี่ยนเป็นเกมความสัมพันธ์สองแกน โดยแนวนอนใช้ภาพที่เป็นพวกเดียวกัน เช่น ภาพเกี่ยวกับบนท้องฟ้งบนท้องฟ้า ภาพดอกไม้ชนิดต่างๆ เป็นต้นและแต่ละช่องมีจำนวนเรียงกัน ส่วนแนวตั้งก็มีสีที่หลากหลายแล้วนำแกนแนวนอนกับแกนแนวตั้งมารวมกัน ซึ่งทำให้เด็กได้รู้ถึงจำนวน ภาพชนิดนั้นๆ และสีต่างๆอีกด้วย
ขอแก้ไขงาน
-ดิฉันขอเปลี่ยนสื่อเกมการศึกษาที่จะทำส่งอาจารย์เป็นเกมจับคู่ภาพและเงา
วัตถุประสงค์ของเกมจับคู่ภาพและเงา
1.เพื่อฝึกให้เด็กได้รู้จักการสังเกต
2.เพื่อฝึกให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมพันธ์ของตาและมือ
3.เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และเห็นรูปภาพในหน่วยที่สอน
4.เพื่อฝึกให้เด็กเกิดคุณธรรมและจริยธรรมในการเล่นเกม

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่6 (22/07/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคน วันนี้อาจารย์สอนให้รู้ว่าสื่อเป็นตัวกลาง นำความรู้จากครูสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมาย
ความสำคัญ
ทำให้สิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ได้รับประโยชน์ตรง รวดเร็วเพลิดเพลิน เข้าใจง่าย
ลักษณะของสื่อทีดี
1. ต้องมีความปลอดภัยแก่เด็ก
2. ประหยัด
3. ประโยชน์ที่เด็กได้รับควรเหมาะสมกับความสามารถของเด็ก
การประเมินการใช้สื่อ
1. พิจารณาจากครูผู้ใช้สื่อ
2. สื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงใด
3. เด็กชอบสื่อชนิดนั้นเพียงใด
4. สื่อช่วยให้เด็กรับความสนใจมากน้อยเพียงใด
เกมการศึกษา คือ การเล่นที่ใช้ความคิดทำให้เกิดการเรียนรู้
ตัวอย่างเกมการศึกษา โนมิโน่ จิกซอ ความสัมพันธ์ 2 แกน เกมส์พื้นฐานการบวก หารายละเอียดของภาพ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่5 (15/07/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคน วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนนำสื่อมานำเสนอวันนี้ดิฉันได้นำหุ่นมือสำหรับเล่านิทานมานำเสนอโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.ให้ความสนุกสนานกับเด็ก
2.ทำให้เป็นจุดสนใจกับเด็ก
3.ทำให้เด็กกล้าแสดงออกในการเล่านิทาน
4.สามารถทำให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการเล่านิทาน
การออกไปนำเสนอสื่อหน้าห้องเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 4 (08/07/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคนวันนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับ
ขั้นตอนในการใช้สื่อ
1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
2.ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรม
3.ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ
4.ขั้นสรุปบทเรียน
5.ขั้นประเมินผู้เรียน
หลักในการใช้สื่อการเรียนการสอน
1.เตรียมตัวผู้สอน
2.เตรียมจัดสภาพแวดล้อม
3.เตรียมพร้อมผู้เรียน
4.การติดตามผล
การประเมินสมารถกระทำได้ใน3ลักษณะ
1.การประเมินกระบวนการสอน
2.การประเมินความสำเร็จของผู้เรียน
3.การประเมินสื่อและวิธีการสอน
การแบ่งประเภทของสื่อ
1.ตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่ได้รับจากสื่อ
2.ตามลักษณะของสื่อหรือการใช้งาน
ตามแนวคิดของ เฮ็ดการ์ เดล กล่าวถึงกรวย 11 กลุ่ม
- ประสบการณ์ตรง
เป็นรูปธรรม ลงมือกระทำจากวัตถุ ของจริง ประสาทสัมผัสทั้ง 5
- ประสบการณ์รอง

บันทึกครั้งที่3 (01/07/53)

สวัสดีคะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคนวันนี้อาจารย์ให้นำBolggerของตัวเองไปลิงค์ที่อาจารย์แล้วอาจารย์ก็ได้สอนเรื่อง
สื่อการเรียนการสอน
หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราเช่น วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่สอนต่างๆ
สื่อกับผู้เรียน
-ส่งเสริมความคิดการแก้ไขปัญหาและความคิดสร้างสรรค์
-ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
-ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน
-ช่วยลดการบรรยายของผู้สอน
-ผู้สอนมีการตื่นตัว
หลักการเลือกสื่อการสอน
1.สื่อต้องสัมพันธ์กับมาตฐาน
2.สื่อต้องถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ
3.สื่อต้องเหมาะกับวัย
4.สื่อต้องสะดวกในการใช้
คุณค่าของสื่อ
1.ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนได้เร็วขึ้น
2.ช่วยให้สนใจบทเรียนและใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้
3.ทำให้เราเข้าใจบทเรียนที่มีเนื้อหายุ่งยากและซับซ้อนได้ง่ายในระยะเวลาอันสั้น
4.ให้ประสบการณ์รูปธรรมแก่ผู้เรียนและเกิดความประทับใจที่น่าจดจำแก่ผู้เรียน
5.ช่วยให้ในการศึกษาหาความรู้

บันทึกครั้งที่ 2 (24/06/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคนวันนี้เป็นการเรียนครั้งที่2แล้ว อาจารย์ติดประชุมมาสอนช้าแต่ฉันก็นั่งทำงานแล้วก็รออาจารย์ไปด้วย อาจารย์ประชุมเสร็จแล้วอาจารย์ก็เข้ามาอธิบายเรื่องสื่อว่ามีความหมายอย่างไรแล้วอาจารย์ก็ยกตัวอย่างเรื่องของสื่อขึ้นมาก็คือเรื่องรถจักรยาน แล้วอาจารย์จะให้ลิงค์แต่เวลาไม่พอก็เลยขอดูงานของแต่ละคนแล้วก็ปล่อยกลับบ้าน

วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 1 (17/06/53)

สวัสดีค่ะอาจารย์ที่เคารพและเพื่อนๆที่น่ารักทุกคนวันนี้เป็นการเรียนวิชานี้ครั้งแรกอาจารย์ให้เขียนจุดเด่นของตัวเองเพื่อให้อาจารย์ทายและอาจารย์ก็ปฐมนิเทศเรื่องการแต่งกายแล้วอาจารย์ให้สร้างblogerเพื่อสะสมผลงาน